(Press Home To Unlock)
Cancel
Retake
Use Photo
Cancel
Cancel
Choose
หากพูดถึงสีไทยแล้ว หลายคนอาจนึกถึงงานศิลปะไทยอย่างจิตรกรรมฝาผนัง หัวโขน หรือลายผ้าไทย แต่น้อยคนนักที่จะนึกถึงตัว “เนื้อสี” ของสีไทยอย่างจริงจัง สีไทยจึงนำมาใช้อยู่ในวงจำกัด จนอาจจะลดทอนความรู้ที่มีมายาวนานนี้ให้สูญหายไป ความจริงแล้วตัวเนื้อสีของโทนสีไทยนั้นมีเสน่ห์และมีเอกลักษณ์มาก ทั้งยังมีชื่อเรียกเฉพาะและมีเรื่องราวความเป็นมาเก่าแก่ ดังเช่นที่ คุณไพโรจน์ พิทยเมธี ได้พิสูจน์ให้เราเห็นผ่านโครงการวิจัยเรื่อง "ไทยโทน" หรือ "Thaitone" คุณไพโรจน์เป็นอาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และกำลังศึกษาปริญญาเอกที่คณะจิตรกรรมหัวข้อศิลปนิพนธ์เรื่องสีไทย โดยมุ่งเน้นการสืบหาหลักฐานข้อมูลเรื่องสีไทยเพื่อจัดเก็บเป็นฐานข้อมูล จนกลายมาเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำมาใช้ในงานศิลปะไปจนถึงประยุกต์ใช้ในงานออกแบบ ซึ่งจะนำไปสู่การสืบทอดองค์ความรู้ของไทยชุดนี้ไม่ให้เลือนหายไป
ภาพ (ซ้ายบน) ไม้ฝาง ใช้ต้มจะได้สีชมพู เป็นที่มาของสีลิ้นจี่ (กลางบน) ก้อนดินแดง เป็นดินที่มีมากในประเทศไทย จึงเป็นสีหลักพื้นฐาน นิยมใช้กันมากจนเรียกได้ว่าเป็นสีประจำประเทศไทยตั้งแต่โบราณ (ขวาบน) รงบดเป็นผงใช้ทำสีเหลือง เรียกว่าเหลืองรง (ซ้ายล่าง) แผ่นทองแดงขึ้นสนิม ในสมัยโบราณจะขูดผงสนิมที่ได้จากทองแดงเหล่านี้มาทำสี เป็นที่มาของผงสีเขียวอมฟ้าที่เรียกว่าเขียวตั้งแช หรือเขียวขี้ทองในภาษาไทยเดิม (กลางล่าง) ก้อนดินนวลใช้ทำสีขาวนวล (ขวาล่าง) ก้อนชาด แร่ชนิดหนึ่ง ที่มาของสีแดงชาด
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงและภาพจาก Baanlaesuan
Application Thaitone เป็นแอปพลิเคชันสำหรับการตรวจสอบสีไทย โดยผู้ใช้สามารถถ่ายภาพหรือนำรูปภาพจากไลบรารี่มาตรวจสอบหาความเป็นสีไทยแท้ โดยจะอ้างอิงสีจากโครงการวิจัย เรื่อง "ไทยโทน"มาใช้ในการตรวจสอบ (Application Thaitone นั้นถูกพัฒนาขึ้นบนระบบปฏิบัติการ iOS ด้วยภาษา Swift 3 )
กรณีที่ผู้ใช้เลือกโหมดที่หนึ่ง
การใช้งานขั้นตอนที่3-2
หลังจากที่ผู้ใช้ทำการถ่ายภาพเสร็จ จะมีปุ่มด้านล่างสองปุ่มให้ผู้ใช้กดได้แก่
- Retake คือการถ่ายภาพใหม่อีกครั้ง
- Use Photo คือใช้ภาพนี้ในการตรวจสอบสี
การใช้งานขั้นตอนที่4
เมื่อผู้ใช้งานได้รูปที่ต้องการ แล้วจะปรากฏปุ่มด้านล่าง3ปุ่มได้แก่
-ปุ่มไอคอนกล้องภายรูป คือการถ่ายภาพใหม่ เพื่อนำไปตรวจสอบสี
-ปุ่มไอคอนวงกลม คือการตรวจสอบสี
-ปุ่มไอคอนไลบรารี่รูปภาพ คือเลือกจากไลบรารี่ภาพถ่ายในเครื่องใหม่
(นอกจากปุ่ม3ปุ่มแล้วยังมีปุ่มข้างบนอีกหนึ่งปุ่มนั้นก็คือปุ่มย้อนกลับ ซึ่งจะย้อนกลับไปกระบวนการก่อนหน้านี้)
ทีมพัฒนาระบบApplication Thaitone ได้แก่
นางสาวหทัยชนก ชาวเมืองกรุง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาซอฟต์แวร์
นายปฏิภาณ นาครินทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาซอฟต์แวร์
นายฤทธิรงค์ ภูมณี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาซอฟต์แวร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทั้งนี้ขอขอบคุณ คุณไพโรจน์ พิทยเมธี ที่ได้อนุญาติการนำข้อมูลของสีไทยโทนไปใช้ในพัฒนาระบบApplication Thaitone และอาจารย์สุรศักดิ์ เพ็ชรมณี ที่ได้ให้ปรึกษาในการพัฒนา
Copyright 2016 Faculty of Engineering, Thammasat University